Additive Manufacturing(เรียกสั้นๆว่า AM) เป็นวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานแบบลามิเนต 3D printer ที่กำลังได้รับความสนใจในปัจจุบันนี้ ถือเป็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ผลิตชิ้นงานด้วยวิธีการแปรรูปที่เรียกว่า AM ดังกล่าว
โดยบริษัท RABITT PROTOTYPE ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ AM ในหลากหลายสาขาของประเทศไทย อาทิ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จัดงาน “Additive Manufacturing Conference 2020” ขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา
ซึ่งในงานได้นี้มีการนำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยี AM ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ “AM สำหรับระบบอัตโนมัติ” “ผลกระทบของ AM ในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย” “3D printer ยุคใหม่” “เทคโนโลยี 3D print ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์” ฯลฯ
โดยมีผู้เข้าร่วมการนำเสนอ 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท YN2-TECH ซึ่งนำโดยคุณ Ryota Nakamura MD และบริษัท CASTEM (Siam) (จากนี้ไปจะขอเรียกว่าบริษัท CASTEM THAI) ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยของบริษัท CASTEM ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและญี่ปุ่น ในฐานะของผู้พัฒนาวิธีการผลิตแบบ Lost wax และผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะและงานหล่อ
มีการแนะนำตัวอย่างการใช้งาน AM ในประเทศญี่ปุ่นภายใต้หัวข้อ New generation of manufacturing – Japanese innovation case การผลิตในยุคใหม่ – กรณีศึกษานวัตกรรมของประเทศญี่ปุ่น”
แม้คำว่า AM จะยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่มีความหมายว่าเทคโนโลยีทั้งหมด อาทิ วิธีการแปรรูปที่มีการใช้ 3D printer ฯลฯ ซึ่งได้รับการอธิบายในหัวข้อการสนับสนุนด้าน “Thailand 4.0 *” ของรัฐบาลไทย โดยประวัติของ AM นั้น เริ่มจาก 3D printer ที่มีการใช้งานในสหรัฐอเมริกาในช่วงครึ่งหลังของปี 1990 จนกลายมาเป็นอุปกรณ์ (หรือเครื่องจักร) ที่ขาดไม่ได้ในการทดลองของภาคการผลิต นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการผลิตชิ้นงานหรือชิ้นส่วน โดยไม่มีการใช้แม่พิมพ์อีกด้วย
คุณ Nakamura ประธานบริษัท ผู้มีความสนใจในเทคโนโลยีล้ำสมัย ได้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตัวอย่างขึ้นมา ด้วยวิธีการแปรรูปแบบ AM โดยอาศัยความร่วมมือจากบริษัท CASTEM THAI