▲คุณ Mino จากบริษัท CASTEM THAI คือ ผู้ที่สวมหน้ากากซึ่งผลิตจากโลหะที่มีน้ำหนัก 7kg ส่วนคุณ Nakamura MD ของบริษัท YN2-TECH คือ ผู้ที่ถือลูกบอลของโปเกมอน

คุณ Nakamura MD จากบริษัท YN2-TECH และคุณ Takumi Mino จากบริษัท CASTEM THAI ได้เข้าร่วมงาน “Additive Manufacturing Conference 2020” ซึ่งจัดขึ้น ณ ไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยเราได้สัมภาษณ์อย่างเจาะลึกเกี่ยวกับความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย

▲ผลิตภัณฑ์ของบริษัท CASTEM ที่นำมาจัดแสดงภายในงาน

บริษัท CASTEM ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1948 ในฐานะของผู้ผลิตขนมหวาน (บริษัท MARUTO SEIKA) แม้จะมีประสบการณ์มากกว่า 50 ปีแล้ว แต่ยังมีความคิดที่จะพัฒนาทุกอย่างให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ ซึ่งการผลิตชิ้นส่วนด้วยวิธีการ Lost wax นี้ เริ่มต้นจากการที่ได้ลองทำการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตขนมหวานด้วยตนเองและฝึกฝน เรียนรู้ จนกลายมาเป็นผู้นำด้านวิธีการผลิตดังกล่าว อีกทั้งยังมุ่งเน้นไปที่วิธีการผลิตแบบ Direct cast โดยใช้ 3D printerตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในสาขา Additive Manufacturing (จากนี้ไปจะขอเรียกย่อว่า AM / เป็นการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุหรือวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานแบบลามิเนต) ร่วมกับบริษัท YN2-TECH ในประเทศไทยอีกด้วย

คุณ Nakamura MD ของบริษัท YN2-TECH อธิบายถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองบริษัทว่า “เราได้เรียนเชิญให้บริษัท CASTEM THAI จัดทำชิ้นงานตัวอย่างของชิ้นส่วนโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการวิเคราะห์ด้านความร้อน นอกจากนี้ยังได้รับคำปรึกษาในด้านเครื่องจักรอีกด้วย”

อีกทั้งยังได้กล่าวถึงแรงผลักดันที่ได้รับจากบริษัทดังกล่าวว่า “บริษัท CASTEM เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะร่วมกับหลายบริษัทโดยใช้ 3D printer และสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์อีกด้วย สิ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่บริษัทของเราควรศึกษาไว้เป็นอย่างมาก กล่าวโดยคุณ Nakamura “

ในขณะเดียวกันคุณ Mino จากบริษัท CASTEM กล่าวว่า “บริษัท YN2-TECH เป็นผู้ออกแบบชิ้นส่วนที่มีสายสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ การได้ร่วมธุรกิจกับบริษัท YN2-TECH นี้ทำให้เราสามารถประชาสัมพันธ์วิธีการผลิตที่เรามีความเชี่ยวชาญตั้งแต่การออกแบบไปยังผู้ที่ยังไม่ทราบถึงวิธีการผลิตแม่พิมพ์แบบ Lost wax ได้ ในอนาคตเราจะใช้เทคโนโลยีของเราในการสนับสนุนบริษัทนี้ต่อไป”

Lost wax, Metal injection และ Direct cast 3 วิธีการผลิตที่สามารถรองรับล็อตการผลิตขนาดเล็กแต่หลากหลายรุ่นได้

วิธีการผลิตแบบ Lost wax: :เป็นหนึ่งในวิธีการหล่อที่เริ่มมีมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล จากการวิจัยและพัฒนาของบริษัท CASTEM ทำให้สามารถผลิตชิ้นส่วน อาทิ สกรู, เกียร์ ฯลฯ ที่ต้องการความแม่นยำสูงซึ่งเคยมีเพียงแค่การ Cutting เท่านั้นที่ทำได้

ข้อดีของวิธีการผลิตแบบ Lost wax
①สามารถผลิตแม่พิมพ์ได้ในราคาถูกและมีความคงทนแบบกึ่งถาวร
② สามารถผลิตชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อนเป็นจำนวนมากได้
③ สามารถรองรับวัสดุโลหะที่มีความแข็งและตัดได้ยาก อาทิ สเตนเลส ฯลฯ ได้
④ สามารถรองรับโลหะพิเศษ อาทิ ไทเทเนียม ฯลฯ ได้

วิธีการผลิตแบบ Metal injection (การฉีดขึ้นรูปผงโลหะ (Metal Injection Molding) / MIM) เป็นวิธีการผลิตโดยการผสมผงโลหะและสารยึดเกาะ (Binder) เข้าด้วยกันก่อนนำไปใส่ลงในแม่พิมพ์เพื่อทำการฉีดขึ้นรูป

ข้อดีของวิธีการผลิตแบบ Metal injection
① สามารถผลิตชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กและรูปร่างซับซ้อนเป็นจำนวนมากได้โดยมีความถูกต้องและแข็งแรงสูง
② สามารถสร้างเป็นรูปร่างต่างๆได้อย่างอิสระและจัดทำรูปทรงสามมิติ อาทิ ขอบ, รูที่มีรูปร่างซับซ้อน, รูไขว้ ฯลฯ ได้
③ จากการรวมการผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้
④ มีความแม่นยำด้านขนาดสูง (Tolerance ทั่วไปของ Metal injection อยู่ที่ ±0.5%)
⑤ มีความหนาแน่นสัมพัทธ์มากกว่า 96%
⑥ มีความแข็งแรงเชิงกลใกล้เคียงกับการหลอม
⑦ สามารถจัดการทางความร้อนได้เทียบเท่ากับวัสดุหลอมเหลว อีกทั้งยังสามารถปรับสภาพพื้นผิว อาทิ การเคลือบผิว ฯลฯ ได้

วิธีการผลิตแบบ Direct cast :เป็นวิธีการผลิตโดยการเปลี่ยนพลาสติกซึ่งใช้ 3D printer ในการหล่อขึ้นจาก WAX ให้เป็นโลหะ

ข้อดีของวิธีการผลิตแบบ Direct cast
① จากการใช้ 3D printer สำหรับโลหะ ทำให้สามารถผลิตได้ในราคาถูก
② สามารถผลิตโดยไม่ใช่แม่พิมพ์ได้
③ สามารถผลิตด้วยวัสดุหลากหลายประเภทได้

▲ชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อน, รูปร่างผิดปกติ, เส้นโค้งสามมิติ / ชิ้นงานที่มีความบาง (ซ้าย), ชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อน, รูปร่างผิดปกติ(ขวา)
▲ชิ้นงานที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ / Cam, Gear (ซ้าย), SKD, SKH, ชิ้นงานหล่อ ขวา)

คุณ Nakamura ได้กล่าวว่า “เรากำลังวางแผนที่จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ “AM Solutions ที่มีการใช้โลหะ” ในบริษัททั้งสองเพื่อการขยายธุรกิจในอนาคต”

ผมต้องการใช้วิธี Additive Manufacturingซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ปราศจากแม่พิมพ์ที่ได้รับการแนะนำมาจากการประชุมครั้งนี้ในการสร้างสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน กล่าวโดยคุณ Nakamura”

▲(ซ้าย) คุณ Takuo Toda CEO ของกลุ่มบริษัท CASTEM group
ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน “สมาคมเครื่องบินพับกระดาษ”, เจ้าของสถิติโลกที่ได้รับการบันทึกลงใน Guinness Book ว่าสามารถทำให้เครื่องบินกระดาษลอยอยู่บนอากาศนานที่สุด, เป็นผู้บริหารที่มีเสน่ห์เป็นอย่างมาก (ขวา) Tool ขนาดเล็กที่ได้รับการจัดทำด้วยวิธีการผลิตแบบ Metal injection modling (โดยทั่วไปเรียกกันว่า MIM)
▲หน้ากากจากการ์ตูนเรื่อง “คินนิกุแมน” ที่ได้รับการเปิดตัวในรายการวาไรตี้เมื่อปี 2019 อีกทั้งยังได้จัดทำหน้ากากสำหรับจอมมารในปี 2020 อีกด้วย คุณ Nakamura ได้กล่าวว่ารู้สึกประทับใจในประสิทธิภาพการโฆษณาผ่านทางสื่อของบริษัท CASTEM เป็นอย่างมาก
▲”การแข่งขันด้าน Insert” ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัท CASTEM THAI ซึ่งเริ่มจากชั้นเรียนในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (ปี 2018-2019)
ความร่วมมือโดย: บริษัท CASTEM, บริษัท CASTEM (Siam) Co., Ltd.